ติดตั้งท่อลมอย่างไร ให้ทำงานร่วมกับปั๊มลมได้ดีที่สุด?

การเดินท่อลมเพื่อให้ทำงานร่วมกับคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหากติดตั้งไม่ถูกวิธีอาจก่อให้เกิดปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาลมรั่ว, pressure drop (ลมตก), การปนเปื้อน หรือ ปัญหาเครื่องขัดข้องจนเสียหายต่อระบบการผลิต ดังนั้น คุณจึงต้องมีการออกแบบระบบท่อลมให้เหมาะสมกับคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมของคุณ

การออกแบบระบบท่อลม

1. ขนาดท่อลม

AIRNET

การเลือกขนาดท่อลมให้เหมาะสมกับคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม เป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด เพราะหากเลือกท่อลมผิดขนาด อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา ไม่ว่าเป็น pressure drop (ลมตก) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมต้องทำงานหนักมากขึ้น หากลมตกมากๆอาจจะถึงขั้นทำให้ลมไม่เพียงพอต่อการใช้งานของเครื่องจักรได้ และหากท่อลมมีขนาดเล็กเกินไป ความเร็วของลมในท่อจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ลมในวาล์วและข้อต่อเกิดความแปรปรวนจนอ่านแรงดันที่แม่นยำได้ยาก สมมุติว่าเรามีคอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลม 25hp สามารถผลิตลมได้ 100 cfm ที่แรงดัน 100 psi หากเราเพิ่มขนาดท่อลมจาก 1” เป็น 1.5” จะช่วยลดการเกิด pressure drop (ลมตก) ได้เป็นอย่างมาก และสามารถประหยัดค่าไฟได้มากขึ้น 1 – 1.5% นอกจากนี้ขนาดของท่อลมที่เหมาะสมยังช่วยลดจำนวนข้อต่อและข้องอ ซึ่งช่วยลดการรั่วไหลของลมที่อาจเกิดขึ้นตามจุดเชื่อมต่อต่างๆ ช่วยประหยัดเวลาในการถอดข้อต่อ และประหยัดเงินให้แก่ผู้ใช้งานได้อีกด้วย

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกท่อลม : https://www.atlascopco.com/th-th/compressors/air-compressor-blog/best-practices-for-selecting-piping-and-accessories

2. การวางผังท่อลม

การวางผังท่อลมนั้น เป็นสิ่งสำคัญมากพอๆกับการเลือกขนาดหรือเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อลม ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของลม และลดปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ การออกแบบการเดินท่อที่ต้องมีจุดแยกสำหรับนำไปใช้งานหลายจุดนั้น ต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การทำให้มีแรงดัันเท่ากันตลอดทั้งโรงงาน การเดินท่อแบบเดี่ยว โดยมีจุดแยกสำหรับนำไปใช้งานหลายจุด ส่งผลให้้จุดใช้งานที่ไลน์ผลิตได้รับ airflow ลดลง นอกจากนี้ตัวแปลงความดัน (pressure transducers) ที่ติดตั้งอยู่ในระบบอาจอ่านค่าความดันได้หลายค่า ขึ้นอยู่กับว่าตัวแปลงนั้นติดตั้งอยู่ที่จุดไหน ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของลม ผู้ใช้งานควรวางผังท่อลมเป็นรูปแบบวงแหวน (ring) เพื่อให้มี airflow อย่างสม่ำเสมอ และทั่วถึงทั้งโรงงาน

3. การเดินท่อ Header

สุดท้ายนี้ ในลมอัดมักจะปะปนไปด้วยปริมาณไอน้ำจำนวนเล็กน้อย ซึ่งจะเกิดการควบแน่นและกลั่นออกมาเป็นหยดน้ำภายในท่อ จนเป็นสาเหตุของการเกิดสนิม เราจึงต้องทำการระบายน้ำเหล่านี้ออกไป ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันน้ำหรือสิ่งสกปรกไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้าสู่คอมเพรสเซอร์หรือปั๊มลมได้ นั่นก็คือ การต่อท่อระบายน้ำเข้าทาง Header

อ่านบทความอื่นๆที่หน้าสนใจ : http://compressorsthai.com/blog/

About the author

เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) อุปกรณ์สำหรับการพัฒนาคุณภาพลมอัดหรืออากาศอัด งานซ่อมบำรุงและอะไหล่แท้ (Compressor Service and Spare Parts) ในระบบปั๊มลมหรือระบบอากาศอัด
Atlas Cocpo คือผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาระบบปั๊มลมหรือระบบการอัดอากาศ (Compressed air system) ปั๊มสูญญากาศ (Vacuum pump) อุตสาหกรรมการผลิตก๊าซและผลิตภัณฑ์ทุกส่วนในระบบปั๊มลมหรือระบบเครื่องอัดอากาศที่เกี่ยวกับปั๊มลมอีกมากมาย เรารับประกันได้ว่าผลิตภัณฑ์ปั๊มลมหรือคอมเพลสเซอร์ของเรานั้นสามารถช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟที่เกิดจากระบบคอมเพรสเซอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากทึ่สุด ทำให้ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมสามารถควบคุมและรักษาต้นทุนโดยรวมไว้ได้

ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับระบบคอมเพรสเซอร์ไม่ว่าความต้องการของคุณคืออะไร Atlas Copco มั่นใจว่าเรามีวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมให้กับโรงงานของคุณ รวมไปถึง อุตสาหกรรมด้านอาหาร , การบำบัดน้ำเสีย , อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีการใช้ระบบปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor), ปั๊มสุญญากาศ, ก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจน Atlas Copco มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าของ Atlas Copco จะได้รับปริมาณและคุณภาพของลมอัดที่ดีที่ดีสุดเสมอ

นอกจากนี้ เรายังได้มีการพัฒนาเพื่อตอบสนองกลุ่มอุตสาหกรรมด้านผลิตก๊าซด้วย on-site nitrogen และ oxygen generators โดยคุณสามารถผลิตก๊าซออกซิเจนและไนโตรเจนได้ที่โรงงานของคุณ ประโยชน์ที่คุณจะได้รับคือการใช้ก๊าซได้ตลอดเวลาและมีต้นทุนที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการขนส่งก๊าซในปริมาณที่มากๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น