ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ เครื่องอัดอากาศ (air compressor) ก็เหมือนรถยนต์ ที่มีการงานใช้งานทุกวัน แต่รถยนต์นั้นสังเกตุง่ายๆ จากกิโลที่เราขับบนหน้าปัดรถ แล้วเครื่องอัดอากาศ (air compressor) ละจะสังเกตุได้จากอะไร
6 สัญญาณที่จะบอกคุณได้ว่าเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมของคุณถึงระยะที่ต้องตรวจเช็คและซ่อมบำรุงแล้ว
- ตรวจสอบคู่มือของคุณ
คุณควรตรวจสอบระยะเวลาในการรับบริการ โดยปกติเครื่องอัดอากาศที่ใช้น้ำมันหล่อลื่นต้องมีการเปลี่ยนน้ำมันปิโตรเลียมทุกๆ 500 ชั่วโมงโดยประมาณ หากเป็นน้ำมันสังเคราะห์ควรตรงเช็คทุกๆ 2000 ชั่วโมงโดยประมาณ ทั้งนี้ต้องมีการตรวจสอบระบบคอนโซลควบคู่ไปด้วยเพื่อหาข้อผิดพลาดที่อาจถูกมองข้ามไปได้ ดังนั้นการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศและตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ
- ความชื้น
ในขณะที่เครื่องอัดอากาศกำลังทำงาน ภายในระบบอัดอากาศจะมีการผลิตความชื้นที่เกิดจากการกลั่นตัวของการบีบอัด ทำให้มีความชื้นสะสมเพิ่มขึ้น หากภายในเครื่องอัดอากาศของคุณมีการเกิดไอน้ำมากเกินไป จะมีการผิดปกติที่ส่งผลต่อระบบระบายน้ำอัตโนมัติได้
- เสียงรบกวน
โดยมาตราฐานปัจจุบันเครื่องอัดอากาศจะมีการติดตั้งระบบลดเสียงรบกวนขณะที่เครื่องทำงาน หรือมาพร้อมกับการออกแบบที่สามารถลดเสียงรบกวนเพื่อช่วยลดมลภาวะทางเสียงให้กับโรงงานของคุณ ดังนั้นหากเครื่องอัดอากาศของคุณมีเสียงรบกวนมากเกินไป สำหรับมาตราฐานการใช้ หรือเสียงดังมากกว่าปกติ รวมไปถึงเสียงของเครื่องจักรที่เกิดจากการทำงานที่มีสอดคล้องกัน นั่นหมายความว่าเครื่องของคุณเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้น
- เบรกเกอร์ทริปบ่อย (Tripping breakers)
การที่เบรกเกอร์ของคุณเกิดการทริปบ่อยจะมีการบ่งชี้ถึงปัญหาต่างๆ ได้มากมาย คุณควรตรวจสอบระบบวงจรไฟฟ้าที่ใช้จ่ายไฟให้กับระบบอัดาอากาศ (The compressed air system) ทันที หลังจากการตรวจเช็คแล้วเครื่องยังคงไม่สามารถทำงานได้คุณควรติดต่อช่างทันทีเพื่อการซ่อมบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
- การสูญเสียแรงดัน (Pressure drop) หรือแรงดันลมต่ำเกินไป
หากเครื่องอัดอากาศของคุณไม่แสดงผลของแรงดันลม นั่นอาจแสดงให้เห็นว่าระบบอัดอากาศของคุณกำลังเกิดปัญหา ยกเว้นว่าค่าแรงดันที่ได้นั้นเป็นศูนย์จริงๆ เพราะการเกิดความกดอากาศต่ำเพียงอย่างเดียวอาจแสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านการสึกหรอของอุปกรณ์ที่อาจเกิดขึ้นทั้งภายในหรือภายนอกก็ได้
- ระบบเปิด / ปิดที่ไม่ตอบสนองต่อการสั่งงาน
การอ่านค่าต่างๆ อาจมีการผิดพลาดเมื่อระบบเปิดปิดของเครื่องอัดอากาศนั้นไม่ตอบสนองการสั่งงาน สิ่งแรกที่ควรทำคือการตรวจสอบวงจรและสิ่งต่างๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน
การตรวจเช็คระยะการบำรุงรักษาระบบอัดอากาศก่อนกำหนดจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดระยะเวลาในการซ่อมบำรุงเครื่องอัดอากาศให้เหมาะสมกับสภาพงานในโรงงานของคุณตอนนั้น ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบอัดอากาศให้มีความต่อเนื่อง ทั้งสามารถป้องกันและลดระยะเวลาในการเกิดเครื่องหยุดทำงาน (Shutdown) ได้อีกด้วย เพิ่มเติมด้วยการที่คุณสามารถป้องกันการรั่วไหลหรือการสูญเสียลมอัดในส่วนต่างๆ ตั้งแต่ระบบท่อลมอัด (Piping system) รวมไปถึงการสูญเสียพลังงานจากระบบอัดอากาศและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบำรุงรักษาเครื่องอัดอากาศนั้นนับเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดของค่าใช้จ่ายในโรงงาน หากคุณมีการมั่นตรวจเช็คและซ่อมบำรุงรักษาที่รวดเร็วจะทำให้คุณสามารถลดการรั่วไหลของพลังงานสูงถึง 40 – 50% ช่วยในการลดค่าใช้จ่ายลงอย่างชัดเจน